SOP เขียนยังไงให้ไม่ตุ๊บ!
เชื่อหรือไม่ว่า ใครก็สามารถเขียนบทความอธิบายความเป็นตัวเองได้ แต่มันจะท้าทายสักแค่ไหน หากเราต้องเขียนบทความเล่าเรื่องราวความเป็นตัวเองเพื่อยื่นเป็นเอกสารสำคัญให้กับสถาบัน และเป็นหนึ่งในตัวตัดสินว่าเราจะสามารถเข้าเรียนที่นั่นได้หรือไม่
Statement of Purpose หรือที่หลายคนคุ้นเคยกันในชื่อย่อ SOP บางคนอาจจะเคยเจอในบทเรียน อาจจะเคยลองเขียน หรือลองยื่นสิ่งนี้ในเวลาที่ต้องเข้าเรียนในที่ต่างๆ หรือบางคนก็อาจจะยังไม่เคยรู้จักสิ่งนี้
ทำไมเราต้องเขียน SOP?
SOP เป็นตัวช่วยสำคัญในการพิจารณารับเข้าเรียนต่อ ไม่ว่าจะระดับปริญญาตรี โท หรือการลงเรียนภาษา เนื้อหาด้านในจะเป็นการแนะนำตัวเราเองให้ทางสถาบันที่เราเล็งไว้ได้รู้จักเรามากขึ้น ทั้งยังเป็นการแสดงถึงความตั้งใจของเรา การพูดถึงเหตุผลต่างๆ ในการเลือกมาเรียนที่นี่ รวมไปถึงทำให้เห็นว่าเราเข้าใจหลักสูตรที่เรากล่าวถึงได้เป็นอย่างดีและในอนาคตเราจะนำความรู้จากหลักสูตรนี้ไปใช้ในแนวทางใด
ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ที่อยู่ในตัว SOP จะเป็น First Impression ของเจ้าหน้าที่ประจำสถาบันที่เราอยากเข้าเรียน ถึงแม้บางสถาบันจะให้ SOP เป็น Optional Document ที่นักเรียนอาจจะไม่จำเป็นต้องเขียนส่งก็ได้ แต่สุดท้ายเราก็ปฏิเสธประโยชน์ของ SOP ไม่ได้อยู่ดี
ส่วนต่างๆใน SOP เป็นสิ่งที่น้องๆต้องให้ความสำคัญมากๆ ภายในนั้นจะประกอบไปด้วยการเกริ่นนำ การกล่าวถึงประวัติการศึกษาของเราคร่าวๆ เหตุผลที่เลือกหลักสูตรนี้ หลักสูตรนี้สอดคล้องกับการทำงานในอนาคตของเราไหม แล้วทำไมต้องเลือกเรียนที่สถาบันนี้ และการเขียนสรุปปิดท้าย
อยากจะเขียน SOP ให้เป๊ะต้องทำยังไง?
ถึงแม้ SOP จะเป็นเรียงความที่เอ่ยถึงเรื่องราวและเป้าหมายในอนาคตของเรา แต่ SOP คือเอกสารที่ใช้ส่งให้ทางสถาบันต่างๆพิจารณา ซึ่งรูปแบบการเขียน SOP ไม่ได้ซับซ้อนหรือเข้าใจ ลองเลื่อนลงมาด้านล่างนี้พี่อิมจะบอกให้
- เขียน SOP โดยใช้ฟอนต์ขนาดที่อ่านแล้วสบายตา (Arial, Times New Roman)
- จำนวนคำแบบพื้นฐานตามแบบฉบับ SOP ประมาณ 800-1,000 คำ
- จำนวนหน้าควรเขียนไม่น้อยกว่า 1 หน้า และไม่ควรเกิน 2 หน้า
- ระยะห่างระหว่างบรรทัด Double-spaced หรือเว้นระยะตามความเหมาะสมให้ SOP อ่านง่าย
- การเขียน SOP จะมีความเป็นทางการ การใช้คำศัพท์ต่างๆจึงต้องอาศัยการตรวจทานหลายๆรอบเลยนะ
- สีข้อความใน SOP ควรเป็นสีดำเพื่อความเรียบร้อย
- ใน SOP ไม่จำเป็นจะต้องใส่รูปประกอบ
สิ่งไหนที่เราควรเลี่ยงบ้างเวลาเขียน SOP
สิ่งที่ควรเลี่ยงเวลาเขียน SOP ถือเป็นเรื่องที่สำคัญและไม่ควรมองข้ามเช่นกัน เพราะเราไม่สามารถเขียนทุกอย่างตามที่เราคิดไว้ลงไปได้ หลายๆอย่างจึงต้องลดทอนลงเพื่อให้ SOP ของเรามีความกระชับและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น มาดูกันว่าเราควรเลี่ยงสิ่งไหนเวลาเขียน SOP บ้าง
- เราไม่ควรบรรยายเรื่องราวในวัยเด็กมากจนเกินไป
- เราควรโฟกัสกับการพูดถึงเป้าหมายในอนาคตมากกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้ว
- เราไม่ควรใช้คำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคยกับความหมายของมันมาก่อน เพราะมันอาจจะทำให้ประโยคนั้นมีความหมายที่ผิดเพี้ยนไปจากความหมายที่เราต้องการจะสื่อ
- เราไม่ควรลอก SOP ของคนอื่นจากอินเตอร์เน็ตมาดัดแปลงให้กลายเป็นของตัวเอง
- เราไม่ควรส่ง SOP ที่เป็นดราฟแรกทันทีหลังจากเขียนเสร็จ เพราะจำเป็นจะต้องตรวจไวยากรณ์และความเรียบร้อยของเนื้อหาหลายๆครั้ง มั่นใจแล้วจึงค่อยส่ง SOP ไฟนอลดราฟ
- เราไม่ควรนำสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาบรรยายใน SOP จนเรื่องราวออกทะเล มันจะยิ่งทำให้เราเสียเวลาในการเขียนและยากที่จะดึงกลับมายังประเด็นเดิมที่ควรจะเป็นได้
สุดท้ายนี้ พี่อิมฝากเน้นย้ำในการเขียน SOP เราจำเป็นจะต้องเข้าใจในแต่ละพาร์ทว่าเราควรจะเขียนเนื้อหาอยู่ในขอบเขตไหน เขียนยังไงไม่ให้ประเด็นหลุดลอยออกนอกโลก และหมั่นทบทวนในแต่ละพาร์ทที่เขียนลงไป ยิ่งตรวจทานมากเท่าไหร่เนื้อหาใน SOP ของเราจะกระชับและครอบคลุมในสิ่งที่เจ้าหน้าที่อยากรู้ ทั้งหมดนี้จะเป็นการเพิ่มโอกาสในการถูกรับพิจารณาเข้าเรียนในสถาบันนั้นๆมากขึ้นด้วย
สำหรับใครที่ตอนกำลังเตรียมตัวเขียน SOP เพื่อใช้ยื่นในการไปเรียนต่อต่างประเทศไม่ว่าจะในระดับการศึกษาไหน พี่อิมจะคอยเป็นกำลังใจให้จากทางนี้ อย่าลืมรีไรท์ รีเช็คให้รอบคอบก่อนส่งด้วยน้า
สนใจอยากไปเรียนต่อต่างประเทศหรืออยากรู้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเขียน SOP สามารถแอดไลน์มาคุยกับพี่อิมได้เลย พี่อิมพร้อมให้คำแนะนำและดูแลฟรีทุกขั้นตอนเลยน้า
https://line.me/R/ti/p/@imeducation3
เรียนต่อต่างประเทศกับ Im Education ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
โทร
Hat Yai 086-488-2446
Bangkok 099-481-4400
Chiang Mai 083-651-4988